Easterlies

"Easterlies" refers to winds that blow from east to west. In this Easterlies series of articles, we handpick unique perspectives from literature on management and leadership from both the West and the East and curate them into easily digestible, three-minute articles that bring you inspiration on these important topics.


จุดบอดและ "วัฒนธรรมที่ทำให้คนเลือกที่จะไม่พูด"

จุดบอดและ
Send by e-mail Copy the link
Copied Copy failed

ในต้นปีนี้ เราต่างเริ่มทำงานเพื่อมุ่งหน้าสู่เป้าหมายใหม่

ระหว่างที่เรามุ่งมั่นคิดถึงแต่การไปข้างหน้า บางครั้งเราก็มองไม่เห็นว่า คนรอบข้างมองเห็นและรับรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เราพูดหรือทำอย่างไร

ในนิทานชื่อดังของ Hans Christian Andersen เรื่อง "ฉลองพระองค์ชุดใหม่ของพระราชา" กล่าวว่า ทุกคนย่อมมี "จุดบอด" ที่ตัวเองมองไม่เห็นแต่ผู้อื่นมองเห็น

การคิดไปเองว่า "ฉันมองเห็นตัวเองได้ดีแล้ว"

เราทุกคนไม่ว่าใครต่างก็มีจุดบอด เหมือนกับความจริงที่ว่า ถ้าไม่มีกระจก เราก็ไม่สามารถมองเห็นด้านหลังของตัวเองได้

และจุดบอด "อาจกลายเป็นจุดอ่อนและภัยคุกคามที่ขัดขวางความสำเร็จได้ (*1)"

เรื่องนี้คงเป็นเรื่องที่ผู้นำหลายคนรู้ดี

แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ จากผลการสำรวจของผู้คนที่อาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกาจำนวน 600 คนซึ่งสำรวจโดยนักจิตวิทยาสังคมของมหาวิทยาลัย Princeton พบว่า ผู้คนมากกว่า 85% ตอบว่า "พวกเขามีอคติ (Bias) น้อยกว่าค่าเฉลี่ย (*2)"

หรืออาจกล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่ตระหนัก "อย่างแท้จริง" ว่า ตนเองมีจุดบอด

ผลกระทบของจุดบอดที่มีต่อ Performance องค์กร

อย่างไรก็ตาม ความเป็นจริงก็คือ บางองค์กรมีจุดบอดมาก ในขณะที่บางองค์กรมีจุดบอดน้อย แต่จุดบอดเหล่านั้นล้วนส่งผลกระทบอย่างชัดเจนต่อผลการดำเนินงานขององค์กร

การวิจัยโดยนักวิเคราะห์ของ Korn Ferry พบว่า พนักงานในบริษัทที่มีผลการดำเนินงานไม่ดีมี "จุดบอด" มากกว่าพนักงานในบริษัทที่มีผลการดำเนินงานสูงมากถึง 20% (*3)

แล้วอะไรกันล่ะที่สร้างความแตกต่างมากขนาดนี้?

โดยทั่วไป เราจะเรียกสถานการณ์นี้ว่า "ทางแยก (Dilemma) ของการเป็นผู้บริหาร" ยิ่งตำแหน่งในองค์กรสูงมากเท่าไร การได้รับ Feedback จากคนรอบข้างก็จะยิ่งยากมากขึ้นเท่านั้น

ความมั่นใจในประสบการณ์และความรู้ของตนเอง จนมีแนวโน้มที่จะปิดรับ Feedback จากผู้อื่น เป็นเรื่องเกิดขึ้นได้บ่อยๆ และไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในผู้บริหารเท่านั้น

ศาสตราจารย์ Megan Reitz ผู้มีชื่อเสียงจากการเขียนหนังสือเกี่ยวกับทฤษฎีความเป็นผู้นำหลายเล่ม ได้เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ในบทความของ Harvard Business Review โดยเริ่มต้นบทความด้วยการถามคำถามน่าสนใจกับผู้อ่านว่า "คุณมีความสนใจในความคิดเห็นของผู้อื่น 'จริง' หรือไม่?" (※4)

วัฒนธรรม "ที่ทำให้คนเลือกที่จะไม่พูด" ขององค์กรทำให้จุดบอดของแต่ละคนขยายกว้างขึ้น

อีกปัจจัยหนึ่งที่สามารถทำให้จุดบอดขยายกว้างขึ้นได้ คือ วัฒนธรรม "ที่ทำให้คนเลือกที่จะไม่พูด" ที่ฝังแน่นอยู่ในหลายๆองค์กร

จากผลสำรวจที่จัดทำในญี่ปุ่นโดย Coaching Research Institute (CRI) ในปี 2016 พบว่า เมื่อพนักงานถูกถามว่า "ถ้าคุณมีความคิดเห็นที่แตกต่างจากเจ้านายของคุณ คุณจะแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาหรือไม่" คำตอบของพนักงานทั่วไปที่ตอบว่า "แสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาอยู่เสมอ" มีเพียง 6% เท่านั้น (※5)

"วัฒนธรรมที่ทำให้คนเลือกที่จะไม่พูด" ได้สร้างสรรค์อะไร และได้ทำให้สูญเสียอะไรไป?

ถ้าคุณสังเกตเห็นจุดบอดของใครบางคน คุณจะสามารถบอกเจ้าตัวโดยไม่ลังเลได้หรือไม่?

จุดบอดมักถูกมองว่าเป็น "ปัญหาส่วนตัว" ของผู้นำ แต่เราต้องไม่ลืมว่าจุดบอดนั้น "ถูกสร้างขึ้นโดยคนรอบข้างด้วย"

ในตอนนี้ องค์กรหรือทีมของคุณมี "วัฒนธรรมที่ผู้คนสามารถพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นต่างๆได้อย่างเปิดใจ" หรือไม่?

พวกคุณมีความสัมพันธ์ที่สามารถเติมเต็มจุดบอดของกันและกันได้หรือไม่?

ตอนนี้ อาจเป็นความคิดที่ดีที่จะหยุดและพิจารณาเรื่องต่อไปนี้ใหม่อีกครั้ง ก่อนที่จะเผชิญหน้ากับเป้าหมายใหม่

  • ตอนนี้ มีเรื่องอะไรบ้างที่คุณสังเกตเห็นแต่ยังไม่ได้พูดออกมา?
  • เพราะอะไร?
  • ใครสามารถเติมเต็มจุดบอดของคุณได้บ้าง?
  • คุณสามารถช่วยลดจุดบอดของใครได้บ้าง?

【References】
*1 Jose Ruiz, Overcoming Leadership Blind Spots, Forbes, 8 พฤษภาคม 2020
*2 Emily Pronin, Daniel Lin และ Lee Ross, The Bias Blind Spot: Perception of Bias in Self Versus Other, Personality and Social Psychology Bulletin, 28 (3), 369–381., 2002
*3 Kevin Cashman, "Return On Self-Awareness:Research Validates The Bottom Line Of Leadership Development", Forbes, 17 มีนาคม 2014
*4 Megan Reitz และ John Higgins, The Problem with Saying “My Door Is Always Open”, Harvard Business Review, 9 มีนาคม 2017
*5 เหตุผลอันดับหนึ่งที่ทำให้คนไม่แสดงความคิดเห็นต่อเจ้านายอย่างตรงไปตรงมาคือ “เพราะพูดไปก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง” (Coaching Research Institute)” บทความ Hello, Coaching!, 20 ธันวาคม 2016

*Regardless of profit, non-profit or intranet, secondary use such as copying, diversion, selling etc. is prohibited without permission.

Language: Japanese

Please feel free to contact us regarding organizational coaching, organizational research or global resources development

Read More Articles

Send by e-mail Copy the link
Copied Copy failed