Coach's VIEW

Coach's VIEW is the business column written by coaches in COACH A. It will give you some tips to utilize coaching for organizational development and leadership development through its recent coaching status, recent data related to coaching, and introduction of global publication related to coaching.


คำถามที่ "ทำให้คุณรู้สึกดี"

คำถามที่
Send by e-mail Copy the link
Copied Copy failed

ก่อนที่จะทำอะไรก็ตาม เรามักจะมี "Dialogue" กับตัวเราเองอยู่เสมอ

"วันนี้จะออกไปข้างนอก ใส่ชุดอะไรดี?"
"งานที่สำคัญที่สุดของวันนี้คืออะไร?"
"ตอนเช้า ควรเตรียมอะไรเป็นอย่างแรก?"

การมี Dialogue กับตัวเองเช่นนี้เรียกว่า "Self-talk" หรือ "Self-question"

นอกจากคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่เราจะทำแล้ว เรายังมีคำถามที่ถามตัวเองแบบอัตโนมัติโดยไม่รู้ตัว เพื่อป้องกันตัวเองให้ปลอดภัยอีกด้วย

"แบบนี้จะดีไหมนะ?"
"จะเป็นอะไรไหมนะ?"
"จริงไหมนะ?"

ในหนึ่งวัน เรามักจะถามคำถามเหล่านี้กับตัวเองครั้งแล้วครั้งเล่า ไม่ว่าเราจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม

"กลไกลเอาตัวรอด" และ "กลไกลก้าวหน้า"

ในหนังสือ "Change: How Organizations Achieve Hard-to-Imagine Results in Uncertain and Volatile Times" ของ John Paul Kotter ผู้เขียนได้อธิบายถึงกลไกที่เราป้องกันตัวเอง โดยเรียกกลไกนั้นว่า "Survive channel (กลไกลเอาตัวรอด)''

"มนุษย์มีกลไกที่เรียกว่า 'กลไกลเอาตัวรอด' ซึ่งเป็นเหมือนระบบเรดาร์ที่คอยเฝ้าระวังภัยคุกคามอยู่ตลอดเวลา" (*)

ในสมัยโบราณกลไกลเอาตัวรอด"เป็นกลไกป้องกันตนเองจากภัยคุกคามทางกาย แต่สำหรับเราที่อยู่ในยุคปัจจุบัน กลไกนี้มีหน้าที่ในการรักษาความสัมพันธ์ทางสังคม เพื่อให้อยู่รอดในสังคมปัจจุบันที่มีความซับซ้อน มากกว่าเพื่อป้องกันตนเองจากภัยคุกคามทางกาย

"ถ้าบรรลุเป้าหมายไม่ได้ ผลการประเมินจะตก"

"ถ้าไม่ทำตามที่หัวหน้าต้องการ จะไม่ได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมโปรเจ็ค''

"ถ้าแต่งตัวไม่เหมาะสมกับสถานที่และโอกาส จะถูกตำหนิ"

"ถ้าทำตัวไม่เข้ากับวัฒนธรรมของบริษัท จะไม่ได้โปรโมท"

กลไกลเอาตัวรอดของเรา จะทำงานในเวลาที่เราพยายามหลีกเลี่ยงบทลงโทษทางสังคม ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ หรืออาจกล่าวได้ว่า กฎเกณฑ์ต่างๆของสังคมถูกกำหนดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นการทำงานของกลไกลเอาตัวรอดของเรา

และอาจกล่าวได้ว่า วิธีการบริหารแบบดั้งเดิมส่วนใหญ่มักมุ่งเน้นไปที่การกระตุ้นกลไกลเอาตัวรอดทางสังคมของเรา พวกเขาพยายามที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต โดยการคุกคามการดำรงอยู่ของเราผ่านการแข่งขัน การทำงานหนัก รางวัล และบทลงโทษ

ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่เราจะถามคำถามเพื่อป้องกันตัวเองซ้ำแล้วซ้ำเล่า

"แบบนี้จะดีไหมนะ?"
"จะเป็นอะไรไหมนะ?"
"จริงไหมนะ?"

อาจกล่าวได้ว่า คำถามเหล่านี้ทำหน้าที่สำคัญในการหลีกเลี่ยงความล้มเหลว รักษาความสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้าง เพื่อให้อยู่รอดต่อไปได้ในสังคม แต่ทันทีที่คำถามเหล่านี้ผุดขึ้นภายในใจเรา "ความวิตกกังวล" ก็จะเพิ่มมากขึ้น และฮอร์โมนความเครียดจำนวนมากก็จะไหลเวียนพลุ่งพล่านทั่วร่างกาย ทำให้ทั้งสมองและร่างกายของเราโฟกัสแต่เพืยงเรื่องการป้องกันตัวเองเท่านั้น จนเราไม่สามารถสังเกตเห็นความเป็นไปได้ใหม่ๆหรือโอกาสที่อาจจะอยู่ตรงหน้า นอกจากนี้ ยังส่งผลให้เราตกอยู่ในสภาวะที่ไม่สามารถร่วมงานกับคนที่ทำงานด้วย

ในหนังสือเล่มเดียวกันนี้ John Paul Kotter ซึ่งเป็นผู้เขียนยังได้กล่าวถึงกลไกที่เรียกว่า "Thrive channel (กลไกลก้าวหน้า)" ซึ่งเป็นกลไกที่ทำงานตรงข้ามกับ "Survive channel (กลไกลเอาตัวรอด)"

" 'กลไกลก้าวหน้า' ก็มีระบบเรดาร์ด้วยเช่นกัน แต่เป็นเรดาร์ที่ต่างกับ กลไกลเอาตัวรอด ตรงที่คอยมองหา 'โอกาส' มิใช่เฝ้าระวังภัยคุกคาม" (*)

กลไกลก้าวหน้า คือระบบเรดาร์ที่ช่วยให้คุณค้นพบความเป็นไปได้ใหม่ๆ มองเห็นโอกาส และก้าวไปข้างหน้า

ทั้ง "กลไกลเอาตัวรอด" และ "กลไกลก้าวหน้า" เป็นกลไกที่จำเป็นต่อความอยู่รอดของเรา จึงไม่สามารถพูดได้ว่า อย่างไหนดีหรืออย่างไหนไม่ดี อย่างไรก็ตาม ถ้าเรารู้ตัวว่ากลไกลใดกำลังถูกกระตุ้นอยู่ภายในตัวเรา อาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อความสัมพันธ์ที่เรามีกับผู้อื่น

คำถามภายในตัวเราที่ถูกส่งไปหาผู้อื่น

สมาชิกในทีมเคารพซึ่งกันและกัน คิดร่วมกัน และทำงานร่วมกัน

เพื่อเพิ่ม Performance ของทีมในระยะยาว ผู้นำต้องทำให้ "กลไกลเอาตัวรอด" สงบลง และกระตุ้น "กลไกลก้าวหน้า" ให้ทำงานมากขึ้น

เพื่อให้เป็นเช่นนั้น หนึ่งในสิ่งที่สามารถทำได้คือการตระหนักถึง "คำถาม" ภายในตัวเรา และตั้งใจที่จะเปลี่ยนคำถามเหล่านั้น เพราะคำถามภายในตัวเราจะถูกส่งออกไปยังภายนอก ถ้าผู้นำถามคำถามที่กระตุ้น "กลไกลเอาตัวรอด" ออกไป คำถามเหล่านั้นก็จะกลายเป็นคำถามที่กระตุ้นการทำงานของ "กลไกลเอาตัวรอด" ของลูกน้อง

ดังนั้น แทนที่จะยอมจำนนต่อ "คำถาม" ที่ถามตัวเองแบบอัตโนมัติโดยไม่รู้ตัวเพื่อป้องกันตัวเองให้ปลอดภัย ขอให้ตั้งใจถาม "คำถาม" ที่หยุด "กลไกลเอาตัวรอด" และกระตุ้น "กลไกลก้าวหน้า" ให้ทำงานมากขึ้น

"คำถาม" นี้อาจเรียกได้ว่าเป็น "คำถาม" ที่ทำให้ตัวเองอยู่ในสภาวะที่ดีและอยู่ในทิศทางบวก

สภาวะของผู้นำมีอิทธิพลต่อพนักงานมากกว่าที่พวกเขาคิดไว้ ดังนั้น ก่อนอื่น ผู้นำจึงควรทำให้กลไกลเอาตัวรอดของตัวเองสงบลง และกระตุ้นกลไกลก้าวหน้าให้ทำงานมากขึ้น เพื่อถาม "คำถาม" ที่ทำให้สามารถค้นพบความเป็นไปได้อยู่เสมอ มองเห็นโอกาส และก้าวไปข้างหน้าได้

ลองคิดชุดคำถามที่ช่วยกระตุ้น "กลไกลก้าวหน้า" หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือชุดคำถามที่ทำให้คุณรู้สึกดี ลองถามคำถามเหล่านั้นกับตัวเอง และหา "คำถาม" ที่ทำงานได้ดีกับตัวคุณ

  • อะไรคือสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับคุณในตอนนี้?
  • วิธีที่ทำให้คุณมีสภาวะที่ดีขึ้นคืออะไร?
  • คุณสามารถทำอะไรได้บ้าง เพื่อทำสิ่งที่ยังไม่เสร็จให้เสร็จสิ้น?
  • จุดแข็งและความสามารถของคุณคืออะไร? คุณสามารถใช้สิ่งเหล่านี้ทำอะไรได้บ้าง?
  • ใครคือคนสำคัญสำหรับคุณ? คุณสามารถทำอะไรได้บ้าง เพื่อทำให้ความสัมพันธ์ของคุณกับบุคคลนั้นลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น?
  • คุณรู้สึกยังไงในตอนนี้? อะไรทำให้เกิดความรู้สึกนั้น?
  • คุณจะทำอะไร เมื่อเสร็จจากงานนี้?
  • "ความสนุกเพลิดเพลิน" มีความหมายต่อคุณอย่างไร?

นี่คือตัวอย่างของ "คำถามที่ทำให้คุณรู้สึกดี" ที่ผู้เข้าร่วม "3-Minute Coaching Workshop" ของ COACH A คิดร่วมกัน

ขั้นตอนแรกในการทำให้ "Survive channel (กลไกลเอาตัวรอด)" ของสมาชิกในองค์กรสงบลง และกระตุ้น "Thrive channel (กลไกลก้าวหน้า)" ให้ทำงานมากขึ้น คือการที่ผู้นำสร้างชุดคำถามที่ทำให้พวกเขารู้สึกดี

สำหรับคุณ "คำถามที่ทำให้คุณรู้สึกดี" คือคำถามแบบไหน?

【References】
หนังสือ “Change: How Organizations Achieve Hard-to-Imagine Results in Uncertain and Volatile Times” ของ John Paul Kotter

*Regardless of profit, non-profit or intranet, secondary use such as copying, diversion, selling etc. is prohibited without permission.

Language: Japanese

Please feel free to contact us regarding organizational coaching, organizational research or global resources development

Read More Articles

Send by e-mail Copy the link
Copied Copy failed