"Easterlies" refers to winds that blow from east to west. In this Easterlies series of articles, we handpick unique perspectives from literature on management and leadership from both the West and the East and curate them into easily digestible, three-minute articles that bring you inspiration on these important topics.
Self-awareness ที่มองเห็นได้จากความสัมพันธ์
November 1, 2024
การตระหนักรู้ในตนเอง (Self-awareness) และจุดบอด (Blindspot)
ผลสำรวจหนึ่งในสหรัฐอเมริกาพบว่า Self-awareness เป็นหัวข้อการโค้ชที่พบบ่อยที่สุดในระดับกรรมการบริหาร (*1)
สาเหตุที่ Self-awareness ได้รับความสนใจอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาอาจเกี่ยวข้องกับความจริงที่ว่าการร่วมมือกับคนรอบข้างถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างขาดไม่ได้ในการทำงาน
และยังมีอีกผลสำรวจที่แสดงให้เห็นว่า แม้ว่า 95% ของพนักงานจะคิดว่าตน "มี Self-awareness สูง" แต่จริงๆ แล้ว มีพนักงานเพียง 10-15% เท่านั้นที่มี Self-awareness ในระดับที่เรียกได้ว่าสูงจริงๆ (*2)
นอกจากนี้ งานวิจัยในสหรัฐอเมริกาจำนวนมากยังชี้ให้เห็นว่า มีความเป็นไปได้สูงที่ Self-awareness ของผู้นำ (รวมถึงผู้บริหาร) จะคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง และนี่เป็นจุดบอดที่ร้ายแรงสำหรับตัวผู้นำเอง (*3,4)
แล้วอะไรล่ะที่อยู่เบื้องหลังความคลาดเคลื่อนของ Self-awareness นี้
Self-awareness มี 2 ประเภท
ดร. Tasha Eurich ซึ่งเป็นนักวิจัยเกี่ยวกับ "Self-awareness" และ Executive coach ที่มีชื่อเสียง กล่าวว่า Self-awareness มี 2 ประเภทด้วยกัน
ประเภทแรกคือ "Internal self-awareness (การตระหนักรู้ในตนเองภายใน)"ซึ่งหมายถึงความเข้าใจในสิ่งที่เราให้คุณค่า เรื่องที่เรามี Passion รวมถึงการตอบสนองทางอารมณ์และความคิดของตนเอง
ประเภทที่สองคือ "External self-awareness (การตระหนักรู้ในตนเองภายนอก)" หรือพูดอีกอย่างว่า การเข้าใจว่า "คนอื่นมองคุณอย่างไร"
งานวิจัยของ ดร. Tasha Eurich พบว่า คนที่มี Self-awareness อย่างลึกซึ้งจะมีจุดร่วมเหมือนกันคือ พวกเขาให้ความสำคัญกับการรักษาสมดุลระหว่างการเข้าใจเกี่ยวกับตนเองอย่างถูกต้อง (Internal self-awareness) และการรับรู้ว่าผู้อื่นมองตนเองอย่างไร (External self-awareness) (*2)
กล่าวอีกนัยหนึ่ง พวกเขา Reflect เพื่อทำความเข้าใจในตนเองจากภายใน และในขณะเดียวกัน พวกเขายังขอรับ Feedback จากผู้อื่นเพื่อเพิ่มความเข้าใจในตนเองจากภายนอกด้วย
Point สำคัญในเรื่องนี้คือ ในการเพิ่ม "Self-awareness" พวกเขาไม่ได้มองแต่ "ตัวเอง" เท่านั้น แต่ยังให้ความสนใจเป็นอย่างมากกับ "คนรอบข้าง" ที่รวมถึงหัวหน้า เพื่อนร่วมงาน และลูกน้องของพวกเขา และเข้าไปสร้างความสัมพันธ์กับผู้คนเหล่านี้ด้วยตัวเอง
ก้าวข้ามกรอบของ "ปัจเจกบุคคล" แล้วมองตัวเองใหม่
ผู้คนอาศัยอยู่ในความสัมพันธ์
เราเปลี่ยนแปลงเมื่อเรามีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้างเรา
หากไม่มีผู้คนรอบข้าง เราก็ไม่สามารถตระหนักรู้ในตนเองได้
ถ้าเราคิดและมองจากพื้นฐานเหล่านี้ เราอาจไม่สามารถตระหนักรู้ในตนเองได้อย่างเต็มที่ หากปราศจากความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงอิทธิพลที่เรามีต่อผู้คนรอบข้างและอิทธิพลที่เราได้รับจากพวกเขา
จุดแข็งของเราคืออะไร? ปัญหาที่เราจำเป็นต้องแก้ไขอยู่ที่ไหน? คุณอาจพบคำตอบของคำถามเหล่านี้ได้ หากคุณก้าวข้ามขอบเขตของตัวเองและมีความสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้างอย่างกระตือรือร้นและต่อเนื่อง
-
คุณเป็นคนแบบไหน?
-
คุณถามคำถามข้างบนนี้กับตัวเองครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่?
-
คุณอยากลองคุยกับใครเพื่อให้รู้เกี่ยวกับตัวเองเพิ่มมากขึ้น?
【Reference】
※1 Allen Moore และ Jan Rybeck, “Coaching for the 21st century”, Korn Ferry Institute, 25 มีนาคม 2015
※2 Tasha Eurich, ”Working with People Who Aren't Self-Aware”, Harvard Business Review, 19 ตุลาคม 2018
https://hbr.org/2018/10/working-with-people-who-arent-self-aware
※3 Joan Shafer, Adam Bryant และ David Reimer, ”Revealing leaders’ blind spots”, strategy+business, 29 เมษายน 2020
https://www.strategy-business.com/article/Revealing-leaders-blind-spots?gko=e2a16&utm_source=itw&
utm_medium=itw20200430&utm_campaign=resp
※4 Evelyn Orr, “Survival of the most self-aware: Nearly 80 percent of leaders have blind spots about their skills”, Korn Ferry Institute, 2012
*Regardless of profit, non-profit or intranet, secondary use such as copying, diversion, selling etc. is prohibited without permission.
Language: Japanese