Coach's VIEW

Coach's VIEW is the business column written by coaches in COACH A. It will give you some tips to utilize coaching for organizational development and leadership development through its recent coaching status, recent data related to coaching, and introduction of global publication related to coaching.


Coach เพื่ออะไร? Coach เพื่อใคร?

Coach เพื่ออะไร? Coach เพื่อใคร?
Send by e-mail Copy the link
Copied Copy failed

"ฉันอยากให้คนที่ทำงานทุกคนได้เรียนรู้การโค้ช"
"ใครๆ ก็สามารถโค้ช ได้ ถ้าใจต้องการ"

ฉันคิดแบบนี้มาตลอด 15 ปีนับตั้งแต่เริ่มทำงานที่ COACH A

"ผู้คนดำรงอยู่ในความสัมพันธ์ มันจึงเป็นไปไม่ได้เลยที่คุณจะมีชีวิตอยู่ โดยไม่ได้รับอิทธิพลจากผู้อื่น และมันก็เป็นไปไม่ได้เลยเช่นกัน ที่คุณจะอยู่โดยที่ไม่ส่งอิทธิพลต่อผู้อื่นเลย"

Systemic Coaching™ ของ COACH A ที่มีความเชื่อดังข้างต้นนี้ จึงโฟกัสว่า เราจะสามารถเพิ่มจำนวน "คนที่พยายามหาความเชื่อมโยงระหว่างคุณค่าในการมีอยู่ของตนเองและคุณค่าในการมีอยู่ของบริษัท และตระหนักว่าตนเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงองค์กร" ได้มากแค่ไหน

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลังจาก 1 ชั่วโมงของ Seminar

ตั้งแต่ต้นปีเป็นต้นมา เราได้เริ่มนำเสนอโปรแกรมที่มีระยะเวลา 2 สัปดาห์ เพื่อให้ลูกค้าเข้าใจ Systemic Coaching™ จากประสบการณ์จริง เนื้อหาหลักของโปรแกรม นี้คือ การจัด Online seminar 2 ครั้ง และการให้ผู้เข้าร่วมโปรแกรมได้โค้ชกับ Key person ของตัวเอง ใน Seminar ครั้งแรก เราให้เวลาคิดเกี่ยวกับ Dialogue หลังจากนั้น เราจะให้ผู้เข้าร่วมโปรแกรมทำการโค้ช ก่อนที่จะนำประสบการณ์ที่ได้รับมาคิดทบทวนใน Seminar ครั้งที่ 2

ในฐานะ Facilitator สิ่งที่ทำให้ฉันรู้สึกทึ่งทุกครั้ง คือ แม้ว่าผู้เข้าร่วมโปรแกรมจะเข้าร่วม Seminar เพียงแค่ 1 ชั่วโมงเท่านั้น แต่พวกเขาก็สามารถสร้างประสบการณ์ที่มีความหมายผ่านช่วงเวลาการโค้ชกับ Key person

ข้อความต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของสิ่งที่ผู้ที่ได้รับการโค้ชพูดกับผู้เข้าร่วมโปรแกรม

"ฉันมักจะหมกมุ่นอยู่กับงานที่อยู่ตรงหน้าทุกๆวัน แต่ถ้าฉันมีเวลาเช่นนี้แม้สักนิด ฉันก็สามารถย้อนกลับไปคิดได้ว่า 'จริงๆแล้ว ฉันอยากทำอะไรกันแน่นะ' "

"ในตอนแรก ฉันก็รู้สึกแปลกๆ ไม่ค่อยชิน แต่หลังจากนั้น ฉันก็รู้สึกว่า ถ้าเราสื่อสารกันด้วยวิธีนี้ในสถานการณ์ที่สำคัญๆ ก็จะทำให้เราเข้าใจสิ่งที่คิดอยู่จริงๆของกันและกันได้ และนั่นจะเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้เข้าใจหัวหน้าและแผนกอื่นๆได้มากขึ้นก็เป็นได้ คนเราแต่ละคนมีวิธีตีความหรือทำความเข้าใจที่แตกต่างกัน แต่ฉันรู้สึกว่า ฉันได้รับการรับฟังและยอมรับ ไม่ว่าฉันจะตีความแบบไหน"

"เขาทำให้ฉันคิดได้ว่า มีเรื่องที่ตัวฉันก็สามารถทำได้ ฉันอยากให้มีช่วงเวลาเช่นนี้อีก"

ใน Seminar ครั้งที่ 2 ผู้เข้าร่วมโปรแกรมแต่ละคนได้แบ่งปัน Feedback ที่ได้รับจากผู้คนที่พวกเขาโค้ชด้วยท่าทีที่ดีใจ และในขณะเดียวกัน พวกเขาก็บอกว่า ได้ตระหนักถึงประสิทธิผลที่ได้รับจากการโค้ช

ที่ผ่านมา เมื่อฉันแนะนำทักษะการโค้ช ในตอนที่ฉันทำ Training หรือตอนฉันไปบรรยาย ฉันมักจะเห็นทั้งกรณีที่การโค้ชดำเนินไปได้ไม่ดีเมื่อนำไปปฏิบัติจริงในที่ทำงาน และกรณีที่ไม่สามารถเริ่มต้นการโค้ชได้อย่างราบรื่น ดังนั้น ฉันจึงประหลาดใจกับความสำเร็จของผู้เข้าร่วมโปรแกรมทุกคนในครั้งนี้ และทำให้ฉันสนใจเป็นอย่างมากในสิ่งที่เกิดขึ้น

เหตุผลที่ผู้เข้าร่วมโปรแกรมสามารถใช้เวลาอันมีค่าร่วมกับ Key person ได้

ใน Seminar ครั้งแรก จะเป็นการแชร์เกี่ยวกับปรัชญาของ Systemic Coaching™ และวัตถุประสงค์ของ Dialogue จากนั้น ผู้เข้าร่วมโปรแกรมจะทำความเข้าใจให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นผ่านการ Discussion และจะให้ผู้เข้าร่วมโปรแกรมคิดถึงความสำคัญของ Dialogue ในองค์กรของตนเอง

Facilitator จะสาธิตการโค้ช แต่จะไม่มีการพูดถึงทักษะการโค้ช

เมื่อฉันถามเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้เข้าร่วมโปรแกรมตระหนักตอนที่โค้ช ผู้เข้าร่วมโปรแกรมที่คิดว่าการโค้ชกับ Key person นั้นมีความหมาย ได้ให้คำตอบดังต่อไปนี้

"ฉันอ้างอิงการสาธิตการโค้ช และพยายามโฟกัสในการไม่ปฏิเสธ"

"ฉันไม่ตระหนักจนเกินไปว่าจะต้องรับฟังหรือพยายามทำให้อีกฝ่ายพูดออกมาเยอะๆ แค่ฉันฟังด้วยความรู้สึกว่า เขาอาจมีไอเดียเกี่ยวกับองค์กรและการ Transform ที่ฉันไม่มี เขาก็พูดกับฉันมากมาย"

"ระหว่างที่คุยกัน ฉันสังเกตเห็นว่า มีหลายอย่างที่ฉันไม่รู้ ทำให้ฉันสามารถฟังด้วยความสนใจที่จะรู้ว่า จริงๆแล้ว คนๆนี้ต้องการทำอะไรกันแน่"

จากคำตอบที่ได้รับ ทำให้ฉันได้เห็นว่า ทุกคนมี Dialogue โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมองอนาคตขององค์กรร่วมกัน โดยไม่ได้ตระหนักเรื่องทักษะการโค้ช เช่น การฟังและการถามคำถาม

ทักษะการโค้ชมีไว้เพื่ออะไร?

นอกจากนี้ ฉันยังได้รับ Comment ดังต่อไปนี้จากผู้เข้าร่วมโปรแกรม

"เมื่อฉันมีความคิดเห็นที่ต่างกับกับคู่สนทนา ฉันก็ไม่สามารถโฟกัสในการฟังได้"

"ฉันรู้สึกว่า คู่สนทนาบางคนก็พูดแต่เรื่องผิวเผิน ทำให้ฉันไม่สามารถสร้างบทสนทนาที่ลึกซึ้งได้ ฉันจึงคิดว่า ตัวฉันต้องการทักษะ เพื่อให้สามารถทำต่อไปได่"

แม้ว่าคุณจะแชร์วัตถุประสงค์ให้คู่สนทนารับทราบก่อนเริ่ม Dialogue แต่ก็เป็นเรื่องปกติที่อีกฝ่ายอาจจะนิ่งเงียบหรือเรื่องที่พูดคุยไม่นำไปสู่การสนทนาที่ตรงประเด็น

ควรทำอย่างไรเพื่อสร้าง Dialogue flow? ควรทำอย่างไรเพื่อให้สามารถพูดคุยลงไปในเชิงลึกได้มากกว่านี้? หรือเพื่อการสร้างความสัมพันธ์ที่มีความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน....ไม่ต้องสงสัยเลยว่าทักษะการโค้ชจะสามารถช่วยส่งเสริมในเรื่องเหล่านี้ได้

แน่นอนว่า ทักษะการโค้ชมีความสำคัญต่อการปลดล็อกศักยภาพของ Dialogue ในองค์กรของคุณ Executive coach ของ COACH A มีการฝึกอบรมทักษะการโค้ชมากกว่าหนึ่งชั่วโมงทุกสัปดาห์ แต่แม้จะฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องเป็นเวลามากกว่า 10 ปี ก็ยังมีเรื่องให้เรียนรู้ทุกครั้ง นั่นหมายความว่า การโค้ชเป็นศาสตร์ที่มีความล้ำลึก และการขัดเกลาทักษะก็ไม่มีวันสิ้นสุด

อย่างไรก็ตาม ยิ่งคุณตั้งใจจะใช้ทักษะการโค้ชมากเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งพะวงว่า คุณใช้ทักษะการโค้ชได้ดีอยู่หรือไม่ และจะทำให้คุณหันความสนใจไปที่ตัวคุณเองมากกว่าคู่สนทนา แม้ว่าการโค้ชจะเป็นช่วงเวลาที่มีเพื่ออีกฝ่ายหนึ่ง แต่แทนที่จะสนใจในตัวอีกฝ่าย ความสนใจกลับพุ่งไปที่ตัวเองอยู่เสมอ จึงทำให้ยากที่จะโฟกัสหรือใส่ใจกับความสัมพันธ์กับอีกฝ่าย

แต่แท้จริงแล้ว

แม้ว่าคุณจะขาดทักษะบางอย่างไป แต่ถ้าคุณมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนใน Dialogue ก็จะทำให้สามารถเริ่มการสนทนาที่มีความหมายได้ ยกตัวอย่าง เช่น

เราสามารถร่วมมือกันได้อย่างไรบ้าง?
เราสามารถร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับองค์กรได้อย่างไรบ้าง?

ผู้เข้าร่วมโปรแกรมในครั้งนี้สอนฉันในเรื่องนี้ผ่านประสบการณ์ของพวกเขา

* * *

"ใครๆ ก็สามารถโค้ชได้ ถ้าใจต้องการ"

ฉันเชื่ออย่างไม่มีข้อกังขาว่า ถ้าการโค้ชแพร่หลายไปทั่วโลกมากขึ้น องค์กรจะเปลี่ยนไป บริษัทจะเปลี่ยนไป และโลกก็จะเปลี่ยนไป

*Systemic Coaching™ เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ COACH A Co., Ltd.


*Regardless of profit, non-profit or intranet, secondary use such as copying, diversion, selling etc. is prohibited without permission.

Language: Japanese

Please feel free to contact us regarding organizational coaching, organizational research or global resources development

Read More Articles

Send by e-mail Copy the link
Copied Copy failed