Coach's VIEW

Coach's VIEW is the business column written by coaches in COACH A. It will give you some tips to utilize coaching for organizational development and leadership development through its recent coaching status, recent data related to coaching, and introduction of global publication related to coaching.


คำตอบที่ถูกต้องอยู่ที่ไหน?

คำตอบที่ถูกต้องอยู่ที่ไหน?
Send by e-mail Copy the link
Copied Copy failed

ฉันขอเริ่มต้นบทความนี้ด้วยคำถามว่า

"ผู้บริหารที่ดีคือคนแบบไหน?"

"ความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจคืออะไร?"

แล้วคุณคิดว่า อะไรคือคำตอบที่ถูกต้อง?

จะดีแค่ไหน ถ้าเราต่างมีคำตอบที่ชัดเจนสำหรับคำถามเหล่านี้ ถ้าหากมีหนังสือธุรกิจที่กล่าวว่า "ถ้าคุณทำสิ่งนี้ คุณก็สามารถเป็นผู้บริหารที่ยอดเยี่ยมได้เช่นกัน!" หรือ "กฎ 100 ข้อเพื่อการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ" ฉันคงจะหยิบขึ้นมาอ่านอย่างไม่ลังเล

ในเวลาที่ฉันมีโอกาสได้พูดคุยกับผู้บริหารหลายท่านในระหว่าง Executive Coaching ฉันมักจะได้รับคำขอให้ "บอกกล่าว" พวกเขาในเรื่องต่างๆ เช่น

  • ผมควรทำอย่างไรดีในฐานะผู้บริหาร?
  • ภาพในอุดมคติที่ควรเป็นของประธานานบริษัทคืออะไร?
  • ผมยังขาดอะไรในฐานะประธานบริษัท?

ทุกครั้งที่ได้รับคำถามเหล่านี้ ฉันจะรู้สึกตัวเล็กลง (powerless) เพราะฉันเองก็ไม่มีคำตอบที่ถูกต้องเช่นกัน และในขณะเดียวกัน ก็เกิดความสงสัยว่า "จะมีคำตอบที่ถูกต้องอยู่ที่ไหนสักแห่งมั้ยนะ"

"เพราะอะไรคุณถึงไม่บอกผม?"

"ผมอยากจะเป็นผู้บริหารชั้นหนึ่งให้ได้โดยเร็วที่สุด ผมรู้ตัวเองดีว่า มีหลายสิ่งที่ผมอยากทำ ทั้ง การเปิดตัวและประสบความสำเร็จกับธุรกิจใหม่ การสร้างบุคลากรรุ่นใหม่ๆ และการควบรวมหรือปิดบริษัทในเครือในต่างประเทศ แต่ผมคิดว่า ในฐานะผู้บริหาร ผมยังขาดอะไรบางอย่างอยู่ แต่ผมไม่รู้ว่าตัวเองขาดอะไร คุณ Mizuno เคยพบเจอกับผู้บริหารมามากมายใช่มั้ย? เมื่อเทียบกับผู้บริหารท่านอื่นๆแล้ว ผมยังขาดอะไรไป คุณช่วยบอกผมหน่อยได้มั้ย?"

นี่เป็นคำพูดที่ผู้บริหารท่านหนึ่งพูดกับฉันด้วยท่าทีที่อึดอัดใจในระหว่างการโค้ช ลูกค้าท่านนี้เพิ่งเข้ารับตำแหน่งประธานบริษัทได้ไม่นาน แต่จากมุมมองของฉัน ฉันรู้สึกว่าเขาเป็นคนที่เก่งมากจนมองเขาเป็นอื่นไม่ได้นอกจากเป็นผู้บริหารที่ยอดเยี่ยม แต่ถึงกระนั้น เขาก็ยังพยายามค้นหา "ภาพที่ตัวเองควรจะเป็น" อย่างจริงจัง นั่นทำให้ฉันรู้สึกประทับใจในตัวเขา พร้อมกับรู้สึกถึงความกล้าหาญของเขาที่กล้าเปิดเผยตัวเองในกับฉันในช่วงเวลา Coaching นี้

แต่ในทางกลับกัน ฉันก็รู้สึกด้วยว่า เขากำลังกระวนกระวายจากที่ต้องการได้รับคำตอบที่ถูกต้องในฐานะผู้บริหาร "โดยเร็วที่สุด" อันที่จริงแล้ว ฉันเองก็สงสัยว่า สำหรับตัวเขา การบริหารงานมีความหมายอย่างไร? เขากังวลเพราะอยากจะทำอะไร? ฉันอยากให้เขาหยุดคิดสักครู่ เพื่อให้พูดคุยได้อย่างอิสระมากขึ้น ฉันจึงถามเขาว่า

"คุณอยากทำให้บริษัทเป็นอย่างไร?"

จังหวะนั้น ฉันเห็นสายตาของเขาก็หยุดมองเอียงขึ้นไปด้านบน หลังจากคิดอยู่สักพัก เขาก็ตอบอย่างไร้อารมณ์ว่า

"อย่างที่ผมบอกไปก่อนหน้านี้ว่าผมมีหลายอย่างที่ต้องทำ เช่น การเปิดตัวธุรกิจใหม่ การพัฒนา บุคลากรรุ่นต่อไป และการควบรวมหรือปิดบริษัทในเครือ"

"หากทำสิ่งเหล่านั้นได้แล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรในบริษัท? คุณคิดว่าคนแบบไหนจะทำงานในบริษัทนี้?"

เมื่อฉันถามคำถามเขาต่อ ฉันเริ่มเห็นความหงุดหงิดบนใบหน้าของเขา

"ผมนึกภาพเรื่องแบบนั้นไม่ออกหรอก หรือต่อให้คิดได้ตอนนี้ แล้วจะเป็นอย่างไร? ผมแค่ต้องการรู้เกี่ยวกับสิ่งที่ต้องทำในตอนนี้ในฐานะผู้บริหาร"

หลัวจากนั้น Session การโค้ชก็ดำเนินไปอย่างไร้อารมณ์จนจบลง ฉันคิดว่า ในตอนท้าย เขาคงอยากพูดว่า

"ทำไมคุณถึงไม่ยอมบอกผม?"

เรื่องบางเรื่องจำเป็นต้องเรียนรู้ผ่านการลองผิดลองถูก

การเรียนรู้แบบ Reinforcement learning (การเรียนรู้แบบเสริมกำลัง) เป็นหนึ่งในวิธีการเรียนรู้ของ AI (Artificial Intelligence) และการเรียนรู้ผ่านการลองผิดลองถูกของ AI ก็คือการเรียนรู้แบบ Reinforcement learning

คุณอาจจำได้ว่า AI "AlphaGO" ที่พัฒนาโดยบริษัท Google DeepMind ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ Google ได้เอาชนะปรมาจารย์หมากล้อมชื่อดังจำนวนมากและทำให้โลกตกตะลึง กล่าวกันว่า มีการให้ AI "AlphaGO" เรียนรู้แบบ Reinforcement learning

ในเกมอย่างเช่น หมากล้อม ผลลัพธ์จะเปลี่ยนไปขึ้นอยู่กับสถานการณ์และวิธีที่ฝ่ายตรงข้ามเล่น ดังนั้น จึงไม่มีคำตอบที่ถูกหรือผิดอย่างชัดเจน ดังนั้น ก่อนอื่น AI จะตัดสินใจเลือก Action ด้วยตัวเอง และจากนั้น จะเรียนรู้และปรับปรุง Action ต่อไปตามผลลัพธ์ของ Action แรก โดย Action จะดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับว่า Action นั้นทำให้เข้าใกล้เป้าหมายมากขึ้นหรือไม่ ระบบถูกกำหนดให้ AI ได้คะแนนเพิ่มหากเข้าใกล้เป้าหมายมากขึ้น แต่หากห่างจากเป้าหมายออกไป ก็จะถูกหักคะแนน จากการเรียนรู้เช่นนี้ ก็จะทำให้ Action ของ AI ได้รับการปรับให้เหมาะสมเพื่อให้ได้คะแนนสูง

แนวทาง "การตัดสินใจเลือก Action ด้วยตัวเอง และลองผิดลองถูกซ้ำๆ'' นั้นคล้ายคลึงกับภาพของ "ผู้บริหาร"' ที่ค้นหา "สิ่งที่ต้องทำ'' นำไปปฏิบัติและและปรับปรุงแก้ไขแนวทางไปเรื่อยๆ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ผู้บริหารก็มีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม มี 2 สิ่งสำคัญ เพื่อให้ Reinforcement learning เกิดประสิทธิผลที่ดี หนึ่งคือ "การมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน" และอีกสิ่งหนึ่งคือ "การเห็นภาพผลลัพธ์ที่ต้องการอย่างชัดเจน"

โดยพื้นฐานแล้ว คนที่เป็นผู้บริหารจะมีทั้ง 2 สิ่งนี้อย่างแน่นอน เขาต้องมี passion อย่างแรงกล้าว่า อยากให้บริษัทของตนเองเป็นอย่างไร หรือ อยากบริหารงานให้ได้แบบไหน แต่จากความกังวลว่าตอนนี้สิ่งต่างๆกำลังดำเนินไปได้ด้วยดีหรือไม่ ทำให้เขามักจะหลงลืมสิ่งสำคัญเหล่านี้ไป พวกเราอาจต้องการหาคำตอบที่ถูกต้องโดยเร็วที่สุดจากผู้อื่นหรือประสบการณ์ในอดีต เพื่อทำให้ตัวเองสบายใจ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าบางสิ่งจะเป็น Best practice ของคนที่เป็นผู้บริหารเช่นเดียวกัน แต่ก็อาจจะใช้ไม่ได้ 100% กับทุกคน ไม่มีคำตอบใดที่ถูกต้องเสมอไปแม้แต่คำตอบเดียว

คำตอบเป็นสิ่งที่ต้องค้นหาอย่างต่อเนื่อง

  • คุณทำธุรกิจนี้เพื่ออะไร?
  • คุณอยากเป็นอย่างไรในอีก 10 ปีข้างหน้า?
  • คุณต้องการเปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างไร?

Coach อย่างพวกเรานั้น ถามคำถามกับลูกค้าอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และภาพในอนาคต เราถามคำถามเดิมกับลูกค้าคนเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีก จนบางครั้ง ฉันก็ได้รับปฏิกิริยาแปลกๆ เช่น "ก่อนหน้านี้ก็คุยเรื่องนี้ไปแล้ว นี่ถามอีกแล้วหรือ?"

อย่างไรก็ตาม ยิ่งเป็นผู้บริหารที่ยุ่งอยู่กับเรื่องสำคัญตรงหน้าทุกวัน การใช้เวลาคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องอาจเป็นเรื่องที่จำเป็นจริงๆ

การก้าวไปข้างหน้าผ่านการลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์และภาพที่วาดไว้ เป็นเรื่องที่น่าเบื่อและเหนื่อยมากสำหรับสมอง ถ้าเป็นไปได้ ใครๆก็คงอยากจะหนีจากสภาวะนั้น ดูเหมือนว่าการค้นหา "คำตอบถูกต้องที่ไม่มีคำตอบอยู่จริง" นั้นจะไม่มีที่สิ้นสุด แต่นี่อาจเป็นความสามารถหนึ่งที่ผู้บริหารต่างก็ต้องมี

ผู้บริหารที่ดีคือคนแบบไหน?

ความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจคืออะไร?

ถึงแม้จะยังไม่มีคำตอบที่ถูกต้องในตอนนี้ ก็ร่วมค้นหาต่อไปด้วยกัน ฉันเชื่อว่า นี่คืออีกประโยชน์หนึ่งที่จะได้จาก Executive Coaching

*Regardless of profit, non-profit or intranet, secondary use such as copying, diversion, selling etc. is prohibited without permission.

Language: Japanese

Please feel free to contact us regarding organizational coaching, organizational research or global resources development

Read More Articles

Send by e-mail Copy the link
Copied Copy failed