Coach's VIEW is the business column written by coaches in COACH A. It will give you some tips to utilize coaching for organizational development and leadership development through its recent coaching status, recent data related to coaching, and introduction of global publication related to coaching.
เราจะเปลี่ยนแปลงอนาคตได้อย่างไรบ้าง เมื่อต่างฝ่ายต่างเข้าใจสิ่งที่อีกฝ่ายเคยประสบมาก่อน ?
Copied Copy failedฤดูใบไม้ผลิใกล้เข้ามาแล้ว ฤดูกาลสำหรับการโยกย้ายบุคลากรก็มาถึงอีกครั้งในปีนี้ คงมีทั้งผู้ที่ตื่นเต้นกับบทบาทใหม่ และผู้ที่รู้สึกไม่สบายใจกับการสร้างความสัมพันธ์ใหม่ๆ ผมคิดว่าต่อจากนี้ไป คงจะมีเรื่องราวเกิดขึ้นมากมาย
คุณ A ลูกค้าของเราได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานของบริษัทสาขาขนาดใหญ่ในสิงคโปร์ในเดือนเมษายนเมื่อสามปีที่แล้ว เมื่อเขามาประจำการใหม่ๆ ในตอนแรก เขารู้สึกโล่งใจกับบรรยากาศที่เหมือนครอบครัวและความเป็นมิตรของพนักงาน แต่ในขณะเดียวกัน เขาก็รู้สึกแปลกๆอย่างบอกไม่ถูก พร้อมกับสงสัยว่า เป็นแบบนี้ต่อไปจะดีหรือไม่
"ผมรู้สึกขอบคุณทีมผู้บริหารที่สร้างวัฒนธรรมที่ทำให้พนักงานทำงานได้อย่างสบายใจ แต่เมื่อมองดูเหล่าพนักงาน หลายๆครั้งผมก็รู้สึกว่า พวกเขาอยู่กันแบบเป็นพรรคพวก และพวกเขาทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นในหลายๆเรื่องเพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง"
คุณ A มองว่า ความล่าช้าในการ Recover ด้านเทคนิคเป็นเรื่องเร่งด่วน แต่ถึงกระนั้นการที่ผู้บริหารรู้สึกพึงพอใจกับผลกำไรในปัจจุบันนั้นกลับกลายเป็นการทำให้พวกเขาไม่ค่อยรับรู้ถึงวิกฤตที่อาจจะเกิดขึ้น แม้ว่าคุณ A จะเพิ่งมารับตำแหน่งได้ไม่นาน แต่ความรับผิดชอบที่เขาในฐานะประธานบริษัททำให้เขาต้องการแชร์สิ่งที่เห็นนี้ให้กับทีมผู้บริหารได้รับรู้
แต่ทีมผู้บริหารแสดงการต่อต้านคุณ A เป็นอย่างมาก พวกเขารู้สึกว่าถูกปฏิเสธในสิ่งที่พวกเขาทำมาโดยตลอดจากคนที่เพิ่งมาใหม่และยังไม่รู้จักทั้งตัวพวกเขาและบริษัทดี คุณ A เพิ่งเข้ารับตำแหน่งไม่นาน ก็ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ขวัญกำลังใจขององค์กรลดลงอย่างรวดเร็ว
ในมุมมองของคุณ A เขาพูดเพื่อให้บริษัทสาขาเติบโตได้มากขึ้น แต่คำพูดของเขากลับทำให้ความรู้สึกของผู้ใต้บังคับบัญชาค่อยๆห่างออกไป คุณ A เริ่มไม่รู้แล้วว่า เขาควรจะต้องทำอย่างไรดี
ความรู้สึกของพนักงานค่อยๆห่างออกไป
คงมีคนไม่น้อยที่เคยมีประสบการณ์ที่คล้ายกับคุณ A หลังจากขึ้นเป็นผู้นำขององค์กรใหม่
นั่นเป็นเพราะเมื่อเราต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงบางสิ่งเพื่อการเติบโต พวกเรามักจะพุ่งความสนใจไปที่ปัญหา เพราะความคิดที่ว่า การปรับปรุงจุดที่ทำได้ไม่ดีให้ดีขึ้นนั้นเป็นสิ่งแรกที่ต้องทำ
ถึงแม้ว่าแนวทางข้างต้นเป็นแนวทางที่ "ถูกต้อง" ตามหลักการก็จริง แต่ลองคิดดูว่า ถ้าหากตัวคุณเองถูกชี้ให้เห็นถึงปัญหาอย่างต่อเนื่อง คุณจะรู้สึกอย่างไร คุณอาจรู้สึกเหมือนสิ่งที่คุณทำมาในอดีตถูกปฏิเสธ อาจทำให้คุณเสียความมั่นใจหรืออาจทำให้คุณต้องใช้พลังในการยืนยันความถูกต้องของตัวเอง หากเป็นเช่นนี้ การสร้างความสัมพันธ์ที่ไว้วางใจกับอีกฝ่ายหนึ่งก็จะกลายเป็นเรื่องที่ยากขึ้น และความรู้สึกของอีกฝ่ายก็จะค่อยๆห่างออกไป จริงหรือไม่?
ความรู้สึกที่ต้องการทำให้บริษัทเติบโตขึ้นนั้น เป็นสิ่งที่ทั้งประธานและพนักงานรู้สึกเหมือนกัน ในกรณีที่องค์กรอยู่ต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น Expat และ National Staff ก็รู้สึกเหมือนกัน แล้วถ้าคุณต้องการทำให้บริษัทดียิ่งขึ้น จริงๆแล้วคุณต้องเปลี่ยนอะไร?
แล้วมันเป็นปัญหาจริงหรือไม่?
ผมไม่ได้อยากจะบอกว่า คุณควรหยุดมองที่ปัญหา อันที่จริงแล้ว ในเวลาที่สิ่งต่างๆไม่เป็นไปตามที่ใจคุณคิด นั่นเป็นโอกาสดีที่คุณสามารถใช้ในการหยุดและคิดทบทวนถึงสิ่งที่คุณกำลังคิดและกำลังทำดูอีกครั้งหนึ่ง
คุณ A และผมซึ่งเป็น Coach เริ่มมี Dialogue กันดังต่อไปนี้
อะไรทำให้คุณ A มั่นใจว่าเรื่องนั้นเป็นปัญหาอย่างแน่นอน?
สิ่งที่คุณ A คิดว่าเป็นปัญหา จริงๆแล้ว มันก็เป็นปัญหาสำหรับผู้บริหารด้วยหรือไม่?
ทีมผู้บริหารมองสถานะของบริษัทเป็นอย่างไร?
ตอนนี้ มีเรื่องอะไรบ้างที่คุณ A ได้สื่อไปยังทีมผู้บริหารท่านอื่นๆแล้ว และมีเรื่องอะไรบ้างที่ยังไม่ได้สื่อออกไป?
คุณ A ถามคำถามนี้กับตัวเองซ้ำแล้วซ้ำเล่า และเริ่มใช้เวลากับผู้ร่วมทีมบริหารแต่ละคนเพื่อพูดคุยหารือและแชร์ความคิดของกันและกัน จากการพูดคุยหลายๆครั้ง ทำให้คุณ A ทราบว่า แต่ละคนถูกบอกอยู่เสมอว่า "ห้ามทำผิดพลาด" สิ่งที่พวกเขาเคยประสบมาก่อนแตกต่างเป็นอย่างมากกับคุณ A ที่ทำงานภายใต้วัฒนธรรมองค์กรที่คิดว่า "ถ้าคุณไม่ลองท้าทาย ก็ไม่มีวันพรุ่งนี้"
ความเป็นจริงมีจำนวนมากเท่าจำนวนของผู้คน
ทุกคน ไม่ว่าใคร ก็มีการตีความและมองโลกในแบบของตัวเอง วิธีการตีความของแต่ละคนถูกสร้างขึ้นจากประสบการณ์ของบุคคลนั้นๆ ผู้คนมีชีวิตที่แตกต่างกัน ดังนั้น จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่พวกเขาจะมีวิธีการตีความที่แตกต่างกัน
แต่น่าเสียดายที่พวกเรามักจะลืมความจริงข้างต้นนี้ไปโดยไม่รู้ตัว และหลงคิดไปว่า คนอื่นเห็นโลกเดียวกันกับที่เราเห็น กล่าวคือ เรามักจะหลงคิดไปว่า คำตอบที่ถูกต้องสำหรับเราก็คือคำตอบที่ถูกต้องสำหรับคนอื่นๆด้วยเช่นกัน
โลกที่คนอื่นเห็นอาจแตกต่างจากโลกที่คุณเห็น ความขัดแย้งจะมีผลกระทบในทางลบถ้าเราลืมความจริงข้อนี้ไป หากทุกฝ่ายคิดว่า "ฉันรู้คำตอบที่ถูกต้อง" ช่องว่างก็จะยิ่งลึกมากขึ้นเท่านั้น แม้ว่าสุดท้ายจะมีการประนีประนอมจนได้ข้อสรุป แต่ก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะมีผู้ที่ยังรู้สึกค้างคาใจ
เริ่มจากการทำความเข้าใจจุดยืนของอีกฝ่ายและสิ่งที่เขาเคยประสบมา
อีกฝ่ายมองเห็นอะไรอยู่? หากคุณไม่ถามเขา คุณก็จะไม่มีทางรู้
ในกรณีที่อีกฝ่ายมีจุดยืนที่ต่างกับเรา ก่อนอื่น ขอให้ลองรับฟังอีกฝ่ายหนึ่งโดยไม่ปฏิเสธความคิดของเขา จากนั้น ขอให้เขาพูดถึงสิ่งที่เขาเคยประสบมาที่ทำให้เขาคิดเช่นนั้น และในเวลาเดียวกัน ก็ขอให้คุณพูดคุยกับอีกฝ่ายเกี่ยวกับจุดยืนของคุณและสิ่งที่คุณเคยประสบมา และสอบถามว่า ผู้ฟังรู้สึกอย่างไรกับสิ่งที่ได้ฟังจากคุณ กระบวนการนี้ บางทีก็ทำให้คุณได้สังเกตเห็นสมมติฐานของคุณด้วยเช่นกัน
จากนั้น ขอให้ย้อนกลับไปที่เรื่องของวัตถุประสงค์ และร่วมค้นหาความหมายใหม่ด้วยกัน นี่อาจฟังดูเป็นทฤษฎีเชิงอุดมคติ แต่ผมคิดว่า ความสัมพันธ์ที่มีความไว้วางใจกันนั้นสร้างขึ้นผ่านการทำเช่นนี้
แทนที่จะค้นหาปัญหาและพยายามเปลี่ยนแปลง ก่อนอื่น ขอให้คุณลองเปลี่ยนวิธีที่คุณเข้าไปมีความเกี่ยวข้อง การทำเช่นนี้ จะช่วยเพิ่มทางเลือกเพื่อการเติบโตได้เป็นอย่างมาก
คุณพยายามที่จะรู้เกี่ยวกับโลกที่อีกฝ่ายเห็นมากแค่ไหน?
คุณได้อะไรจากการพยายามพิสูจน์ว่าตัวเองถูกต้อง?
คุณสร้างความสัมพันธ์แบบใดกับคนรอบข้าง เพื่อให้ตระหนักถึงสมมติฐานของคุณ?
*Regardless of profit, non-profit or intranet, secondary use such as copying, diversion, selling etc. is prohibited without permission.
Language: Japanese