Coach's VIEW

Coach's VIEW is the business column written by coaches in COACH A. It will give you some tips to utilize coaching for organizational development and leadership development through its recent coaching status, recent data related to coaching, and introduction of global publication related to coaching.


การสื่อสารสร้างความสัมพันธ์ใหม่

การสื่อสารสร้างความสัมพันธ์ใหม่
Send by e-mail Copy the link
Copied Copy failed

นี่เป็นเรื่องราวของผมกับเพื่อนร่วมงานที่กรุงเทพฯ (ประเทศไทย) ที่ผมประจำการอยู่

ในคืนวันศุกร์คืนหนึ่ง หลังจากรับประทานอาหารเย็นกับลูกค้าเสร็จแล้ว ผมกับคุณ A ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมงานของผม ได้ทบทวนสิ่งที่เราได้รับฟังจากลูกค้า และกำหนด Action หลังจากนี้ ก่อนจะออกจากร้านอาหาร

สำหรับผม คืนวันศุกร์ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของการทำงาน 1 สัปดาห์ ทำให้ผมรู้สึกอิสระอย่างบอกไม่ถูก ปกติผมไม่ค่อยเดินในเมือง แต่อาจเป็นเพราะความรู้สึกเช่นนั้นในคืนวันศุกร์ ผมจึงชวนคุณ A ว่า "วันนี้เดินกลับกันไหม?" และตัดสินใจเดินกลับด้วยกัน โดยเดินผ่านย่านใจกลางเมืองของกรุงเทพฯที่ครึกครื้นและเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวและผู้อาศัย

อากาศเย็นลงเล็กน้อยหลังพระอาทิตย์ตกดิน ระหว่างที่เดินผ่านย่านที่ครึกครื้นและเต็มไปด้วยผู้คน ผมได้พูดคุยกับคุณ A ในหลายๆเรื่อง ในขณะที่ผมฟังเรื่องต่างๆ ทั้งเรื่องของตัวคุณ A เอง เรื่องครอบครัวของคุณ A และสิ่งที่เขารู้สึกในช่วงนี้ตอนทำงาน ผมก็รู้สึกใกล้ชิดกับคุณ A ที่ผมทำงานด้วยเป็นประจำ มากกว่าที่ผ่านมา และในที่สุด หัวข้อสนทนาก็เข้าสู่เรื่องของการโค้ช

"Challenge ที่คุณ A อยากจะก้าวผ่านไปให้ได้ในฐานะ Coach คืออะไร?" 

คุณ A เริ่มพูดถึงการเติบโตของคุณ A ในฐานะ Coach แต่รู้ตัวอีกที หัวข้อสนทนาก็เปลี่ยนเป็น "พวกเราจะทำอะไรได้บ้างในฐานะ Coach เพื่อช่วยให้ลูกค้าสร้างการเปลี่ยนแปลง? พวกเราควรเลือกที่จะมีบทบาทแบบไหนดี?" ซึ่งเป็น Challenge ที่ผมและคุณ A มีร่วมกัน

แต่ละคนมีความคิดในแบบของตัวเองเกี่ยวกับการโค้ช จึงไม่มีคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว และก็เป็นเรื่องปกติที่สิ่งที่ได้เรียนรู้หรือรู้สึกสงสัยจะแตกต่างกันไปตามประสบการณ์ของแต่ละคน สิ่งที่พวกเราทำคือ วางคำถามไว้ตรงกลางระหว่างคู่สนทนา และให้แต่ละคนพูดเกี่ยวกับความคิดของตัวเอง และคิดต่อยอดไปอีก และคุยเกี่ยวกับเรื่องที่คิดต่อยอดไปอีก ระหว่างที่พูดคุยเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ก็ทำให้พวกเรายิ่งอยากพูดคุยมากขึ้นอีก จนถึงกับเดินอ้อมเพื่อที่จะได้พูดคุยไปได้เรื่อยๆ แต่สุดท้าย ผมก็แยกทางกับคุณ A ที่สี่แยกสุดท้ายใกล้บ้านด้วยความรู้สึกเสียดาย

เงื่อนไขในการเกิด "Dialogue"

วันรุ่งขึ้น คุณ A ส่งอีเมลถึงผมหลังจากเขาคิดทบทวนเรื่องที่พูดคุยด้วยกันเมื่อคืน โดยในอีเมลนั้นมีข้อความดังต่อไปนี้

  • การวางคำถามไว้ตรงกลาง และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับคำถามนั้นๆ ทำให้คุณ A รู้สึกว่าความรู้ที่กระจัดกระจายในตัวเขาได้ถูกเชื่อมโยงถึงกัน หนึ่งในนั้นคือความสำคัญของ "การมีจุดยืน (บทบาท) ในการเป็นผู้คิดร่วมกัน" สิ่งที่ตัวเราเป็นจะส่งอิทธิพลต่อมุมมองที่เรามองสิ่งต่างๆ หัวหน้าจะมองลูกน้องว่ายังเด็กและมีประสบการณ์น้อย หรือจะมองว่าเป็น Partner ที่จะร่วมสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆไปด้วยกัน? ลูกน้องจะมองหัวหน้าว่าเป็นคนที่มีคำตอบที่ถูกต้อง หรือจะมองว่าเป็น Partner ที่จะร่วมคิดไปด้วยกัน? ความสัมพันธ์ระหว่างกันจะเปลี่ยนแปลงไปขึ้นอยู่กับว่าเรามองอีกฝ่ายเป็นอย่างไร
  • หากเลือกที่จะเป็นผู้คิดร่วมกัน ทั้ง Idea ที่เกิดขึ้นและความสัมพันธ์ระหว่างกันจะเกิดความเปลี่ยนแปลง หนึ่งในนั้นคือ การพูดคุยปรึกษาได้ง่ายขึ้น และสามารถพูดในสิ่งที่รู้สึกจริงๆได้อย่างเปิดเผย
  • ความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนแปลงไป จะส่งผลต่อ Performance ของทั้งสองฝ่ายและ Performance ขององค์กร

ผมอ่านอีเมลของคุณ A และรู้สึกว่าคุณ A ยังมี Dialogue เกิดขึ้นภายในตัวเขาแม้หลังจบการสนทนาในคืนนั้น อันที่จริงแล้ว Dialogue กับคุณ A ในคืนก่อนก็เป็นประสบการณ์ที่แปลกใหม่สำหรับผมเช่นกัน มันไม่ใช่การพูดคุยเพื่อหาวิธีแก้ไขปัญหาหรือการพยายามพูดเพื่อโน้มน้าวอีกฝ่าย แต่เป็นช่วงเวลาที่ทำให้รู้สึกว่าอยากจะรู้เกี่ยวกับความคิดของอีกฝ่ายให้มากขึ้น ในขณะที่ต่างคนก็ต่างมองลึกลงไปในความคิดของตนเอง แต่ก็ยังช่วยกันสร้างความเข้าใจร่วมกันไปด้วยในเวลาเดียวกัน ประสบการณ์ในคืนนั้นทำให้ผมรู้สึกเช่นนี้

David Bohm นักฟิสิกส์ชาวอเมริกันผู้มีอิทธิพลระดับโลกในด้านกลศาสตร์ควอนตัม และยังเป็นผู้มีชื่อเสียงจากความคิดเชิงปรัชญา ได้เขียนในหนังสือของเขาที่ชื่อ "Dialogue" เกี่ยวกับ Dialogue ที่ผู้คนสร้างขึ้น ดังนี้

"การสื่อสารจะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆได้ก็ต่อเมื่อผู้คนปราศจากอคติ ไม่พยายามส่งอิทธิพลต่อกันและกัน และสามารถฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูดได้อย่างอิสระ"

ผมอ่านอีเมลของคุณ A ในขณะที่นึกถึงการพูดคุยกันในคืนวันศุกร์ไปด้วย และทำให้ผมนึกถึงข้อความนี้ของ Bohm

เวลาที่ผมอยู่ที่ออฟฟิศ ผมมีแนวโน้มที่จะให้คำตอบอย่างรวดเร็ว ยิ่งเป็นเรื่องที่สามารถคาดการณ์อนาคตข้างหน้าได้ ยิ่งมีแนวโน้มที่จะเป็นเช่นนั้น ในทางกลับกัน ผมก็มีเวลาในการสำรวจหาสิ่งที่ยังไม่มีคำตอบ แต่เมื่อมองย้อนกลับไป ผมรู้สึกเหมือนกำลังพยายามค้นหาคำตอบในขณะที่พูดว่า "ผมไม่มีคำตอบ"

การพูดคุยกับคุณ A ในคืนวันศุกร์ เป็นการเผชิญหน้ากับกับคำถามที่ไม่มีคำตอบ โดยมองข้ามความแตกต่างทั้งในด้านตำแหน่ง อายุ และประสบการณ์ และนั่นอาจเป็นช่วงเวลาของ "Dialogue" ดังที่ Bohm กล่าวถึง ก็เป็นไปได้

***

ทุกวันนี้ พวกเราถูกรายล้อมไปด้วยคำถามที่ไม่ได้มีเพียงคำตอบเดียวเสมอไป แต่ถึงกระนั้น พวกเราก็ต้องตัดสินหรือตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ ผมคิดว่า นั่นเป็นเหตุผลที่พวกเราพยายามแสวงหาข้อมูลและความรู้ใหม่ๆ เรียนรู้จากประสบการณ์ของคนรุ่นก่อน และเปิดรับมุมมองใหม่ๆ อันที่จริง เราก็สามารถพูดได้ว่า การสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นก็เป็นวิธีหนึ่งในการเปิดรับมุมมองใหม่ๆเช่นกัน

หลังผ่านประสบการณ์การมี Dialogue กับคุณ A เมื่อผมมองย้อนกลับไปดูการสื่อสารในเวลาปกติของผม ผมรู้สึกว่า ส่วนใหญ่เป็นการสื่อสารเพื่อการตัดสินและการตัดสินใจ แม้ว่าการสื่อสารเช่นนั้นจะมีความจำเป็น แต่ดูเหมือนว่ามุมมองของผมจะถูกจำกัดให้แคบลงจากการเน้นการสื่อสารเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว

หากสามารถสร้าง Dialogue กับคู่สนทนาได้อย่างอิสระ และได้สัมผัสกับวิธีคิดที่ไม่มีในตัวเองและคู่สนทนามาก่อน Performance ขององค์กรอาจเปลี่ยนไป ดังที่คุณ A กล่าวในอีเมลของเขา หากในองค์กรเกิด Dialogue ที่ทำให้ผู้ร่วมสนทนารู้สึกว่า "อยากพูดคุยมากกว่านี้" หลายๆครั้ง จะส่งผลให้อนาคตเป็นอย่างไร? มองแวบแรกอาจดูเหมือนเป็นการเสียเวลา แต่หลังจากผ่านช่วงเวลา Dialogue กับคุณ A แล้ว ผมรู้สึกว่า ช่วงเวลาเหล่านั้นอาจนำไปสู่การตัดสินและการตัดสินใจที่ดีขึ้นสำหรับองค์กรก็เป็นไปได้

ปกติ คุณสื่อสารกับคนรอบข้างเพื่ออะไร?

การสื่อสารกับคนรอบข้างควรเป็นช่วงเวลาอย่างไร เพื่อให้มองเห็นอนาคตที่ต่างออกไปได้?

[Reference]
หนังสือ “On Dialogue” โดยผู้เขียน David Bohm ตีพิมพ์ในปี 2007 ที่ประเทศญี่ปุ่น *มีแปลเป็นไทยชื่อหนังสือ “ว่าด้วยสุนทรียสนทนา : On Dialogue” ในปี 2019 โดยสำนักพิมพ์สวนเงินมีมา

*Regardless of profit, non-profit or intranet, secondary use such as copying, diversion, selling etc. is prohibited without permission.

Language: Japanese

Please feel free to contact us regarding organizational coaching, organizational research or global resources development

Read More Articles

Send by e-mail Copy the link
Copied Copy failed