Coach's VIEW is the business column written by coaches in COACH A. It will give you some tips to utilize coaching for organizational development and leadership development through its recent coaching status, recent data related to coaching, and introduction of global publication related to coaching.
สร้างทีมที่ไม่พึ่งพาคนเก่งเพียงคนเดียว
Copied Copy failedเรามักจะนึกถึง "คนเก่ง" ว่าเป็นคนๆหนึ่งที่โดดเด่นและมีความสามารถสูง แต่รู้หรือไม่ว่ามีอีกแนวคิดหนึ่งที่กล่าวว่า ความเก่งนั้นเกิดจากการรวมตัวกัน หรือ "ปรากฏการณ์อัจริยะหมู่ (Collective genius)" หากคุณสามารถรวมตัวเหล่าคนเก่งที่มีความสามารถโดดเด่นในแต่ละสาขาเฉพาะด้านมาทำงานร่วมกัน ก็จะทำให้เกิดความเก่งที่มากยิ่งไปกว่าอัจฉริยะ หรือถึงแม้ว่าแต่ละคนจะเป็นคนธรรมดาก็ตาม แต่หากพวกเขาร่วมมือกันและดึงความสามารถของกันและกันมาใช้ พวกเขาก็จะสามารถนำเสนอสิ่งที่มีคุณค่าให้กับโลกใบนี้ได้ ตรงกับสำนวนภาษาญี่ปุ่นที่ว่า "ถ้าคนสามคนมารวมตัวกัน ก็จะเกิดปัญญาไม่แพ้พระมัญชุศรีโพธิสัตว์" นอกจากนี้แนวคิดนี้ก็ยังเป็นที่รู้จักในฐานะปรัชญาองค์กรของ General Electric (GE) อีกด้วย (*1)
แม้ว่าแนวคิด "ปรากฏการณ์อัจฉริยะหมู่" นั้นจะฟังดูสมเหตุสมผล แต่ก็เป็นความจริงเช่นกันที่การรวบรวมคนที่มีความรู้และความสามารถมาอยู่ด้วยกัน ก็อาจจบลงแค่การรวมกลุ่มของคนหลายคนเฉยๆ โดยไม่เกิดผลใดๆ
สิ่งสำคัญที่ทำให้เราใช้ประโยชน์จากแนวคิด "ปรากฏการณ์อัจฉริยะหมู่"ได้ ก็คือความสามารถในการเชื่อมโยงกันระหว่าง 2 สิ่ง ได้แก่ "ความสามารถ (capability)" และ "ข้อมูลสะสมของแต่ละคน (stakeholder's database)" เข้าด้วยกันได้อย่างเป็นธรรมชาติ
เช่นนี้แล้วคำถามก็คือ อะไรล่ะที่จะเป็นองค์ประกอบที่จำเป็นที่ทำให้เราสามารถ "เชื่อมโยง" ความสามารถและข้อมูลที่สะสมมาของแต่ละบุคคลได้อย่างเป็นธรรมชาติ" ?
เหตุผลที่คำว่า "ความปลอดภัยทางใจ (Psychological Safety)" ได้รับความนิยม
วันก่อน ในรายการโทรทัศน์ช่องหนึ่ง ฉันได้ดูการสัมภาษณ์ของ Dr. Svante Pääbo ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ประจำปี 2022 และเป็นศาสตราจารย์รับเชิญของมหาวิทยาลัย Okinawa Institute of Science and Technology ซึ่งหนึ่งในคำถามตอนสัมภาษณ์ ผู้สัมภาษณ์ถาม Dr. Svante Pääbo ว่า
"อะไรคือสิ่งสำคัญในการทำงานวิจัย?"
Dr. Svante Pääbo ได้กล่าวตอบคำถามของผู้สัมภาษณ์ว่า
"สิ่งแรกและสิ่งที่สำคัญที่สุด คือการมีวัฒนธรรมการทำงานในทีมที่ทุกคนสามารถแสดงความคิดหรือไอเดียของตนได้ เพราะทีมฉลาดกว่าบุคคลเสมอไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นใครก็ตาม สิ่งสำคัญคือวัฒนธรรมที่ไม่ว่าใครก็กล้าที่จะแสดงความคิดหรือไอเดียของตนได้ โดยไม่กลัวว่าจะผิด'' (*2 )
แม้ว่าคำพูดของ Dr. Svante Pääbo จะเป็นความจริง แต่การสร้างสภาพแวดล้อมแบบที่ Dr. Svante Pääbo พูดถึงก็เป็นเรื่องที่ยากมาก
การที่ทุกวันนี้ เราได้ยินคำว่า "ความปลอดภัยทางใจ (Psychological Safety)" กันอยู่บ่อยๆ เสมือนกับเป็นการบอกว่า มันเป็นเรื่องยากแค่ไหนที่จะสร้างสถานที่ที่ผู้คนรู้สึกปลอดภัยทางใจ สถานที่ที่พวกเขาสามารถพูดอะไรก็ได้โดยไม่ต้องกลัวว่าจะผิด
เหตุผลที่การสร้างสถานที่ที่มีความปลอดภัยทางใจเป็นเรื่องยาก
เหตุใดจึงเป็นเรื่องยากที่จะสร้าง "วัฒนธรรมที่ทุกคนกล้าที่จะแสดงความคิดหรือไอเดียของตนได้ โดยไม่กลัวว่าจะผิด"?
จากประสบการณ์ Executive Coaching ที่ผ่านมา ฉันเชื่อว่า มีเหตุผล 2 สองข้อ นั่นคือ
- ทุกคนไม่ว่าใครต่างก็มีความปรารถนาที่ "อยากจะอยู่เหนือกว่าคนอื่นๆ อยากเอาชนะและอยากพิสูจน์ว่าตัวเองเก่งกว่าคนอื่นๆ" โดยไม่รู้ตัว และนี่อาจใกล้เคียงกับสัญชาตญาณในการเอาชีวิตรอดในฐานะสิ่งมีชีวิต
- "คนชอบความสัมพันธ์แบบมีลำดับชั้น'' ฉันคิดว่า เป็นเพราะการมีความสัมพันธ์แบบมีลำดับชั้นมัน "ง่าย" เพราะเป็นความสัมพันธ์ที่มีกฎที่รู้กันว่า "ผู้ที่อยู่ต่ำกว่า" จะต้องรับฟัง "ผู้อยู่ที่เหนือกว่า" การมีกฏเกณฑ์ทำให้หลีกเลี่ยงความขัดแย้งได้ในช่วงเวลาที่คนจะมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ตราบใดที่ความสัมพันธ์แบบมีลำดับชั้นยังคงอยู่ ก็คงยากที่เสียงของ "ความคิดเห็นที่แตกต่าง'' จะดังขึ้นมาจากคนที่อยู่ด้านล่าง
กล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า นี่ไม่ใช่ปัญหาของบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ แต่เป็นปัญหาในเชิงธรรมชาติของมนุษย์
ถ้าเราไม่ควบคุมตัวเอง มนุษย์เราก็มีแนวโน้มที่จะประพฤติตนในลักษณะที่คุกคามความปลอดภัยทางใจของกันและกันโดยอัตโนมัติ ถ้าหากว่าไม่ได้ตระหนักถึงความจริงพื้นฐานข้อนี้แล้ว ไม่ว่าจะพูดถึงเรื่องความปลอดภัยทางใจแค่ไหน ก็ไม่สามารถรักษาหรือรับประกันความปลอดภัยทางใจไว้ได้อย่างแท้จริง
เพราะฉะนั้นแล้ว เราก็น่าจะเราก็น่าจะยอมรับความจริง และเริ่มต้นจากจุดนั้น
เปลี่ยนแปลง "สิ่งที่ไม่เปลี่ยน"
"ท้ายที่สุดแล้ว ผมคิดว่า มันเป็นเรื่องของความพยายามทีละเล็กทีละน้อยของพวกผม (ผู้นำ) แต่ว่านั่นก็ไม่ใช่สิ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่ายๆ"
นี่เป็นคำพูดของคุณ S ซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุดของในแผนกวิจัยของผู้ผลิตเครื่องจักรพรีซิชั่น คุณ S คิดว่า บริษัทคงไม่สามารถอยู่รอดได้ หากไม่มีการส่งเสริมให้พนักงานรุ่นใหม่มีอิสระในการคิด จึงมีการพูดคุยและแบ่งปันความรู้สึกถึงวิกฤตนี้กับกลุ่มผู้บริหาร และตั้งใจที่จะร่วมกันเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
"ถึงเราจะเชิญพนักงานรุ่นใหม่มาร่วมประชุม แต่ผู้บริหารหลายคนก็ยังไม่สบตาหรือไม่ได้เข้าไปสวัสดีทักทายพนักงานรุ่นใหม่ รู้ตัวอีกที สิ่งที่พวกเขาทำ ก็มีเพียงแต่การตำหนิจุดบกพร่องในไอเดียของเหล่าพนักงานรุ่นใหม่เท่านั้น จึงไม่แปลกที่หลายๆคนจะรู้สึกว่า 'งั้นไม่ทำแล้ว' เพราะตัวผมก็รู้สึกแบบนั้นเช่นกัน"
คุณ S คิดได้ว่า การพูดแค่ "การสร้างสภาพแวดล้อมเป็นเรื่องสำคัญ" ต่อไปเรื่อยๆนั้นไม่มีประโยชน์
เขาคิดว่า ถ้ามีคำพูดที่พวกเขาที่เป็นผู้บริหารทุกคนใช้พูดร่วมกันเพื่อมุ่งไปสู่จุดหมายที่ต้องการได้ก็จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับทุกคนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง หลังจากหารือกับทีมบริหารกว่าครึ่งปี ก็ได้คำพูดที่ออกมาเป็นประโยคว่า
มาขอโทษดีกว่ามาขออนุญาต(Better to ask for forgiveness than permission)
คุณ S คิดว่า ตราบใดที่ผู้บริหารยังรักษาความตั้งใจที่จะพูดประโยคนี้ ทีมก็จะมีความกล้าที่จะนำเสนอและริเริ่มความท้าทายต่างๆได้แม้ว่าพวกเขาจะไม่เคยมีการทักทายกันก็ตามให้ข่าวดีก็คือ หลังจากที่องค์กรประกาศชัดเจนว่าจะสนับสนุนทุกคนด้วยคำพูดนี้เมื่อ 4 ปีที่แล้ว องค์กรของคุณ S ก็ได้เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นสถาบันวิจัยที่มีผลงานในระดับโลก
ฉันเองก็ไม่รู้ว่าสภาพแวดล้อมที่หัวหน้าไม่ได้ทักทายลูกน้อง จะเรียกว่าเป็นสภาพแวดล้อมที่ "มีความปลอดภัยทางใจ'' ได้อย่างไร อย่างไรก็ตาม ที่แน่ๆสิ่งนั้นได้เกิดขึ้นในทีมของคุณ S ทุกคนกล้าที่จะแสดงความคิดหรือไอเดียของตนได้ โดยไม่กลัวว่าจะผิด
แล้วสำหรับองค์กรของคุณล่ะ? อะไรคือสิ่งจำเป็นจริงๆสำหรับองค์กรของคุณ?
แล้วถ้าจะต้องบรรยายออกมาเป็นคำพูด คุณจะบรรยายออกมาเป็นคำหรือประโยคว่าอย่างไร? เพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่หล่อหลอมให้ความรู้และความสามารถของบุคคลากรในองค์กรเชื่อมเข้าหากันได้อย่างเป็นธรรมชาติ
[Reference]
*1 Linda A. Hill, Emily Tedders, Jason Wilde, Carl Weaver (ผู้เขียน), Yukari Takahashi (ผู้แปล), "ความเป็นผู้นำที่ตระหนักถึงการสร้างสรรค์ร่วม - อย่าพึ่งพาอัจฉริยะเพียงคนเดียว" Harvard Business Review , กุมภาพันธ์ 2566
*2 “รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ Dr. Pääbo สิ่งสำคัญในการทำงานวิจัยคือ”, NHK News, 2 กุมภาพันธ์ 2566
*Regardless of profit, non-profit or intranet, secondary use such as copying, diversion, selling etc. is prohibited without permission.
Language: Japanese